ชมรมเจ้ามือหวย

หมวดหมู่ทั่วไป => เทคโนโลยี => ข้อความที่เริ่มโดย: siritidaphon ที่ ตุลาคม 02, 2024, 12:59:16 pm



Powered by SMF 1.1.20 | SMF © 2006-2009, Simple Machines
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาลงวด 16 กรกฎาคม 2565 รางวัลที่ 1 620405 รางวัล3ตัวหน้า 159 834 รางวัล3 ตัวท้าย 279 061 รางวัลเลขท้าย 2ตัว 53




เว็บโปรแกรมเจ้ามือหวย



ทำงานแบบมีหลักการ ไม่กล้าจนเกินตัว ไม่กลัวจนเกินเหตุ
ปณิธานของชมรมเจ้ามือหวย
ทางชมรมเจ้ามือหวย หวังแค่เพียงเพื่อนๆ อยู่กันแบบเป็นพี่เป็นน้อง จริงใจ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
ร่วมมือกันในการแบ่งปันข้อมูล มีอะไรดีๆ ก็นำเสนอแก่เพื่อนสมาชิก เพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน
หรือระวังป้องกันให้ชาวชมรมได้อยู่ในวงการตลอดไปนานเท่านาน
ขอบคุณจากใจจริง
nongnai




หัวข้อ: money expo: เปิดสถานะรหัสตัวเลขในรายงานเครดิตบูโร เลขไหน สถานะคืออะไร ที่นี่!!
เริ่มหัวข้อโดย: siritidaphon ที่ ตุลาคม 02, 2024, 12:59:16 pm
money expo: เปิดสถานะรหัสตัวเลขในรายงานเครดิตบูโร เลขไหน สถานะคืออะไร ที่นี่!! (https://www.checkraka.com/moneyexpo/)

พอได้ยินคำว่า เครดิตบูโร หลายคนอาจจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องของคนที่เป็นหนี้เสียเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วเรื่องข้อมูลเครดิตบูโร เป็นการจัดเก็บข้อมูลของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีสินเชื่อ และประวัติการชำระสินเชื่อทุกประเภทของบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ซึ่งเป็นข้อมูลที่ส่งมาจากสถาบันการเงิน และบริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร โดยข้อมูลที่จัดเก็บจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ
 
1. ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงตัวตนลูกค้า เช่น ชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด เลขที่บัตรประชาชน และกรณีที่เป็นนิติบุคคล จะเป็น ชื่อ สถานที่ตั้ง เลขที่ทะเบียนนิติบุคคล เป็นต้น
 
2. ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ และประวัติการชำระสินเชื่อ รวมทั้งสถานะบัญชีที่แสดงสถานะของบัญชีสินเชื่อแต่ละบัญชีที่แสดงในรายงานข้อมูลเครดิต เช่น สินเชื่อปกติ สินเชื่อที่ปิดบัญชีแล้ว สินเชื่อที่ค้างชำระเกิน 90 วัน สินเชื่อที่อยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย เป็นต้น โดยสถานะบัญชีเครดิตบูโรจะแสดงออกมาเป็นตัวเลข ซึ่งสถานะบัญชีเครดิตบูโรสำคัญที่ควรรู้ มีดังนี้
 
01หรือ 010 หมายถึง ปกติ ไม่มีหนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน
11 หรือ 011 หมายถึง ปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว ลูกหนี้ชำระหนี้หมดหรือชำระครบตามยอดที่ได้ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้
12 หรือ 012 หมายถึง พักชำระหนี้ตามนโยบายของสมาชิก
013 หรือ 13 หมายถึง: มีการขอพักชำระหนี้ตามนโยบายของรัฐ
014 หรือ 14 หมายถึง มีการขอพักชำระหนี้เกษตรกรตามนโยบายของรัฐ
20 หรือ 020 หมายถึง หนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน เข้าข่ายเป็นหนี้เสีย (NPL)
21 หรือ 021 หมายถึง หนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน เนื่องจากลูกหนี้ได้รับผลกระทบจากสถานการไม่ปกติ
30 หรือ 030 หมายถึง อยู่ระหว่างกระบวนการทางกฎหมาย
31 หรือ 031 หมายถึง อยู่ระหว่างชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม
32 หรือ 032 หมายถึง ศาลยกฟ้องเนื่องจากคดีขาดอายุความ หรือเหตุอื่นเว้นแต่การยกฟ้องเนื่องจากการเป็นหนี้มิได้มีอยู่จริง
33 หรือ 033 หมายถึง ปิดบัญชีเนื่องจากตัดหนี้สูญ ปิดบัญชีเนื่องจากลูกหนี้ไม่นำเงินมาชำระ และสมาชิกตัดหนี้สูญทั้งหมดโดยไม่ติดใจทวงถามอีกต่อไป
40 หรือ 040 หมายถึง อยู่ระหว่างชำระสินเชื่อเพื่อปิดบัญชี ลูกหนี้ไม่สามารถใช้บัญชีได้อีกหรืออยู่ระหว่างชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้เสร็จสิ้นจะต้องปรับเป็น ปกติ หรือ ปิดบัญชี
41 หรือ 041 หมายถึง อยู่ระหว่างตรวจสอบรายการ เจ้าของข้อมูลขอตรวจสอบรายการหรือ สมาชิกอยู่ระหว่างตรวจสอบรายการ เนื่องจากการทุจริต หรือฉ้อฉลโดยอยู่ระหว่างพิสูจน์ข้อเท็จจริง และยังไม่ได้ข้อยุติ
42 หรือ 042 หมายถึง โอนขายหนี้ที่ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน สมาชิกโอนหรือขายหนี้ที่ค้างชำระให้กับบุคคลอื่น
43หรือ 043 หมายถึง โอนหรือขายหนี้และชำระหนี้เสร็จสิ้น ไปยังนิติบุคคลอื่นและลูกหนี้ได้มีการชำระหนี้เสร็จสิ้นให้แก่ผู้รับโอน
44 หรือ 044 หมายถึง โอนหรือขายหนี้ที่สถานะบัญชีปกติซึ่ง สามาชิกโอนหรือขายหนี้ที่ไม่ค้างชำระ หรือค้างชำระไม่เกิน 90 วันไปบุคคลอื่น
หากเป็น "หนี้เสีย" สถานะเครดิตบูโร 020 ต้องทำอย่างไร?
 
กรณีเป็น "หนี้เสีย" หรือเป็นหนี้ที่ค้างชำระเกิน 90 วัน (NPL : Non-performing Loan) ลูกหนี้ควรขอเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอประนอมหนี้ สำหรับคนที่เป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้ผ่อนบ้าน หนี้ผ่อนรถกับธนาคาร ให้ติดต่อกับธนาคารที่กู้สินเชื่อ โดยแจ้งความประสงค์ขอทำการประนอมหนี้ ธนาคารจะแจ้งรายละเอียด และขั้นตอนในการดำเนินการเพื่อเข้าสู่กระบวนการประนอมหนี้ต่อไป
 
และเมื่อดำเนินการตามขั้นตอน และชำระหนี้หมดแล้วธนาคารจะส่งข้อมูลอัพเดทไปบังบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติเพื่อเปลี่ยนสถานะลูกหนี้เป็น 011 ปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นธนาคารจะส่งข้อมูลเพื่ออัพเดทในระบบของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติตามรอบการจัดส่ง ซึ่งหากเราต้องการเช็กข้อมูลในเครดิตบูโร สามารถเช็กได้หลังจากชำระหนี้เสร็จสิ้น หรือปิดบัญชีแล้ว ประมาณ 1 เดือน
 
ตัวอย่างเช่น
เดือนกุมภาพันธ์ 2566 : ลูกค้าชำระหนี้ หรือปิดบัญชีกับธนาคารที่ขอกู้สินเชื่อ
เดือนมีนาคม 2566 : ธนาคารจะส่งข้อมูลมาที่บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ เมื่อบริษัทข้อมูลเครดิตฯ ประมวลผลแล้วก็จะนำส่งข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูล
ตั้งแต่ 30 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป : ลูกค้าสามารถตรวจเครดิตบูโร และเช็กสถานะของเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่เป็นเดือนล่าสุดได้
ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลเครดิต
 
โดยปกติแล้วธนาคารสมาชิกบริษัทข้อมูลเครดิตมีหน้าที่ส่งข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าแต่ละรายให้บริษัทข้อมูลเครดิตเป็นรายเดือน จนกว่าสินเชื่อนั้นจะชำระเสร็จสิ้น สำหรับกรณีที่ลูกค้าผิดนัดชำระหนี้ และค้างชำระเกิน 90 วัน
 
ธนาคารจะส่งข้อมูลสินเชื่อคงค้างให้บริษัทข้อมูลเครดิตต่อเนื่องไปเป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ค้างชำระเกิน 90 วัน
บริษัทข้อมูลเครดิต จะเก็บข้อมูลเครดิตที่ได้รับจากธนาคารไว้ในฐานข้อมูลต่อไปอีก เป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่บริษัทข้อมูลเครดิตได้รับข้อมูลจากธนาคาร
"ข้อมูลเครดิต" เป็นข้อมูลที่สะท้อนถึงพฤติกรรม และวินัยทางการเงินของเจ้าของข้อมูล รวมถึงความตั้งใจในการชำระหนี้การบริหารจัดการหนี้ ซึ่งธนาคารจะใช้ข้อมูลเหล่านี้ประกอบการพิจารณาสินเชื่อในครั้งถัดไปนะคะ