ชมรมเจ้ามือหวย
 
*
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน พฤศจิกายน 24, 2024, 12:12:51 pm


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น


ผลสลากกินแบ่งรัฐบาลงวด 16 กรกฎาคม 2565 รางวัลที่ 1 620405 รางวัล3ตัวหน้า 159 834 รางวัล3 ตัวท้าย 279 061 รางวัลเลขท้าย 2ตัว 53




เว็บโปรแกรมเจ้ามือหวย



ทำงานแบบมีหลักการ ไม่กล้าจนเกินตัว ไม่กลัวจนเกินเหตุ
ปณิธานของชมรมเจ้ามือหวย
ทางชมรมเจ้ามือหวย หวังแค่เพียงเพื่อนๆ อยู่กันแบบเป็นพี่เป็นน้อง จริงใจ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
ร่วมมือกันในการแบ่งปันข้อมูล มีอะไรดีๆ ก็นำเสนอแก่เพื่อนสมาชิก เพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน
หรือระวังป้องกันให้ชาวชมรมได้อยู่ในวงการตลอดไปนานเท่านาน
ขอบคุณจากใจจริง
nongnai


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “พร้อมเพย์–PromptPay” ดีหรือไม่???  (อ่าน 16307 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
nongnaiTopic starter
Global Moderator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เข้ามาล่าสุด:พฤศจิกายน 06, 2024, 03:11:18 pm
กระทู้: 919


จาก สมุทรปราการ

ระบบปฏิบัติการ::
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
บราวเซอร์::
Chrome 51.0.2704.103 Chrome 51.0.2704.103


« เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2016, 07:23:48 am »

เปิดตัวบัญชี Any ID “พร้อมเพย์ – PromptPay ” ปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานบริการการเงินใหม่ – โอน 5,000 บาทแรกฟรี สูงสุด 10 บาท/รายการ



16 มิถุนายน 2016

นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2559 นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานแถลงเปิดตัวบริการโอนเงินและรับโอนเงินแบบใหม่ “พร้อมเพย์–PromptPay” ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของ “Any ID” หนึ่งในโครงการหลักที่รัฐบาลพยายามผลักดันภายใต้แผนยุทธศาสตร์ National e-Payment และเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีธนาคารพาณิชย์ต่างๆ มาร่วมด้วย

นางทองอุไรกล่าวว่า หัวใจสำคัญของบริการพร้อมเพย์คือบริการที่จะทำให้ใครๆ ก็โอนเงินมาให้เราได้ โดยไม่ต้องถามเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร ช่วยเพิ่มความสะดวกด้วยการจัดให้มีระบบข้อมูลกลาง หรือ “ถังข้อมูล” เชื่อมเลขบัญชีเงินของทุกธนาคาร, หมายเลขโทรศัพท์มือถือ และเลขประจำตัวประชาชนไว้ด้วยกัน และต่อไปหากจะโอนเงินให้ใครจะสามารถใช้ 2 หมายเลขนี้ในการอ้างอิงแทนได้ ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าผู้รับเงินจะใช้บัญชีเงินฝากของธนาคารใด ทั้งนี้ เลขที่บัญชีเงินฝากยังคงใช้โอนเงินได้ตามปกติ โดยในระยะแรกจะเป็นบริการโอนเงินระหว่างบุคคลทั่วไปก่อน สำหรับนิติบุคคลจะเปิดให้บริการในช่วงต่อไป

การเริ่มใช้บริการพร้อมเพย์ สิ่งแรกที่ผู้ใช้บริการต้องทำคือเลือกบัญชีเงินฝากที่ต้องการจะใช้เป็นบัญชีหลักในการรับเงินหลัก โดยต้องเตรียมเอกสาร 3 อย่างเพื่อประกอบการลงทะเบียน 1) สมุดบัญชีหรือเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร 2) บัตรประจำตัวประชาชน และ 3) โทรศัพท์มือถือที่ท่านต้องการลงทะเบียน หลังจากนั้นจึงไปแจ้งลงทะเบียนกับธนาคาร โดยสามารถใช้ช่องทางบริการ เช่น ATM, Internet Banking หรือ Mobile Banking หรือไปที่สาขาธนาคารเจ้าของบัญชีที่สะดวกก็ได้

ทั้งนี้ ระบบข้อมูลกลางจะพร้อมให้บริการลงทะเบียนสำหรับทุกธนาคารได้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป อย่างไรก็ดี ธนาคารที่มีความพร้อมสามารถเปิดให้ลงทะเบียนก่อนกำหนดได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 และประชาชนสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการผูกบัญชีได้ตลอดเวลา โดยปฏิบัติตามขั้นตอนที่ธนาคารแต่ละแห่งกำหนดไว้ ซึ่งภายหลังธนาคารได้ข้อมูลการลงทะเบียนก็จะนำข้อมูลดังกล่าวไปจัดระเบียบและใส่เข้าไปยังระบบข้อมูลกลางต่อไป

“เลขหมายหนึ่งเลขหมายใช้ผูกหรือจับคู่กับบัญชีเงินฝากปลายทางได้เพียงหนึ่งบัญชี คือสามารถเลือกให้ทั้งหมายเลขโทรศัพท์มือถือและหมายเลขบัตรประชาชนผูกกับบัญชีเงินฝากบัญชีเดียวเท่านั้น หรืออาจจะแยกให้แต่ละหมายเลขไปผูกกับบัญชีเงินฝากบัญชีละ 1 หมายเลขก็ได้ แต่หมายเลขบัตรประชาชนจะเป็นหมายเลขหลักที่ใช้สำหรับการโอนเงินสวัสดิการต่างๆ หรือคืนเงินภาษีจากภาครัฐ”

นางทองอุไรกล่าวต่อถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากบริการพร้อมเพย์ว่า ประโยชน์ที่ใกล้ตัวที่สุด คือ การโอนเงินและรับเงินในชีวิตประจำวันของเราจะสะดวกขึ้นมาก สามารถโอนเงินให้ครอบครัวและเพื่อนฝูงได้โดยใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือที่เรามักจะจำได้หรือบันทึกไว้อยู่แล้ว นอกจากนี้ ในส่วนของการรับเงินจากภาครัฐ เช่น เงินสวัสดิการ เงินช่วยเหลือ เงินคืนภาษี ก็จะสามารถรับตรงเข้าบัญชีได้ด้วยเลขประจำตัวประชาชนที่ผูกไว้กับบัญชีเงินฝากธนาคาร และที่สำคัญ ประชาชนมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วน สามารถเปลี่ยนแปลงยกเลิกการผูกบัญชีได้ง่าย และสามารถเลือกใช้บริการได้อย่างอิสระ

“ตัวอย่างที่เห็นชัดเจน เช่น กรณีจ่ายเงินค่าแท็กซี่ บางครั้งเราอาจจะไม่มีเงินสดติดตัวก็ต้องให้เขารอก่อน เข้าไปหยิบเงินในบ้านมา แต่ถ้าทั้งสองฝ่ายลงทะเบียนในระบบนี้ ก็สามารถชำระเงินผ่านหมายเลขโทรศัพท์มือถือ จบ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าบริการพร้อมเพย์นี้จะช่วยลดการใช้เงินสด เพิ่มความรวดเร็ว ถูกต้อง และสามารถตรวจสอบรายการย้อนหลังได้ โดยเป้าหมายสุดท้ายคือการส่งเสริมให้ประชาชนปรับเปลี่ยนมาใช้ e-Payment ในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนของระบบการชำระเงินโดยรวมและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ” นางทองอุไรกล่าว

ขณะที่ประเด็นค่าธรรมเนียม นางทองอุไรกล่าวว่า อัตราค่าธรรมเนียมมีผลอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนผู้ใช้บริการจากการใช้เงินสดและเช็คมาเป็นการใช้ e-Payment แทน ดังนั้น ธปท. และสมาคมธนาคารไทยจึงได้กำหนดหลักการโครงสร้างค่าธรรมเนียมที่เห็นชอบร่วมกัน โดยมีหัวใจสำคัญ คือ ค่าธรรมเนียมต้องเอื้อต่อการส่งเสริมการใช้ e-Payment และใกล้เคียงกับบริการที่คล้ายกันของประเทศที่มีการใช้ e-Payment อย่างแพร่หลาย

ส่วนความกังวลเกี่ยวกับระบบโทรศัพท์มือถือทาง ธปท. ได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และผู้ให้บริการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยในวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2559 นี้ ธปท. จะไปลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันในประเด็นนี้ ซึ่งในเบื้องต้นทางผู้ให้บริการและ กสทช. ได้เริ่มจัดเตรียมฐานข้อมูลโทรศัพท์ไปแล้ว เพื่อสอดรับกับระบบการชำระเงินใหม่นี้



ธนาคารไทยลดค่าธรรมเนียมโอน 5,000 บาทแรกฟรี

ด้านนายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวถึงประเด็นค่าธรรมเนียมว่า การโอนเงินในระบบพร้อมเพย์ระหว่างบุคคลไม่เก็บค่าธรรมเนียม 5,000 บาทแรก, 5,000-30,000 บาท เก็บค่าธรรมเนียมน้อยกว่า 2 บาทต่อรายการ, 30,000-100,000 บาท เก็บน้อยกว่า 5 บาทต่อรายการ, 100,000 บาท – สูงสุดตามแต่ละธนาคาร เก็บน้อยกว่า 10 บาทต่อรายการ ขณะที่ค่าธรรมเนียมอื่นๆ จะยังคงไว้ที่อัตราเดิมในปัจจุบันต่อไป แต่ในอนาคตอาจจะปรับให้มีความเหมาะสมมากขึ้น โดยในปี 2562 อาจจะเริ่มเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินสดก่อน เนื่องจากมีต้นทุนสูง

“ข้อสรุปเรื่องโครงสร้างค่าธรรมเนียมเปลี่ยนไปอย่างมากเลย ก่อนหน้านี้ได้คุยกันบอกกันว่าลดลงเหลือ 5 บาทได้ก็ดีใจแล้ว นี่ไม่เก็บเลย 5,000 บาทแรก ดังนั้น อยากจะขอประชาชนให้ช่วยกันทำให้โครงการนี้เกิดขึ้นมา ทำให้ระบบการชำระเงินของไทยก้าวหน้ามากขึ้น ให้เกิดประโยชน์กับสังคมกับประเทศโดยรวม” นายปรีดีกล่าว

ส่วนการสนับสนุนการใช้ระบบพร้อมเพย์ นายปรีดีกล่าวว่า สมาคมธนาคารและธนาคารพาณิชย์จะเริ่มประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าเห็นความสำคัญของการใช้ระบบชำระเงินใหม่นี้ เช่น อาจจะให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อจูงใจให้ประชาชนเริ่มหันมาใช้ เป็นต้น นอกจากนี้ ธนาคารต่างๆ จะลงทุนพัฒนาระบบ

“ถาม-ตอบ” กับ ดร.อนุชิต อนุชิตานุกูล เจ้าของไอเดีย “พร้อมเพย์”
ในวันเดียวกัน ดร.อนุชิต อนุชิตานุกูล ประธานสายพัฒนาระบบงาน ช่องทางขายและผลิตภัณฑ์ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด(มหาชน) และที่ปรึกษาคณะทำงานพัฒนาระบบ e-Payment ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ปลุกปั้นโครงการนี้ ได้ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับระบบ “พร้อมเพย์” ว่า

ทุกวันนี้เรามีระบบโอนเงินอยู่แล้ว เช่น บาทเน็ต เป็นต้น เรียกว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐาน การจะเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานนี้เดิมจะต้องผ่านทางธนาคาร สาขา ตู้เอทีเอ็ม Mobile Banking เป็นการส่งคำสั่งเข้าไปยังโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังทุกธนาคาร ประชาชนเข้าไปถึง Hacker เข้าไม่ถึง ไม่มีช่องไหนเลยที่จะเข้าไป คือเมื่อธนาคารได้รับคำสั่งให้โอนเงินจากช่องทางต่างๆ เข้ามา ธนาคารจะส่งต่อคำสั่งไปยัง Switch Clearing House ซึ่งปัจจุบันเชื่อมต่อระหว่างกันแบบ 1 ต่อ 1 ไม่มีใครเข้าไปได้เลย อันนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ปัจจุบันประเทศไทยใช้อยู่คือท่อหรือถนนที่เชื่อมต่อกันมันแคบ เราก็ขยายบริการให้มันใหญ่ขึ้น

ถามว่ามีอะไรเปลี่ยนหรือไม่ “ไม่มีอะไรเปลี่ยนเลย” เพราะฉะนั้น สิ่งที่แตกต่างคือเวลาประชาชนใช้ Mobile Banking เข้ามาในระบบผ่านธนาคาร ของเดิมเวลาจะสั่งโอนเงินต้องใส่เลขที่บัญชี ระบบใหม่นอกจากเลขที่บัญชีแล้ว เราสามารถใส่อย่างอื่นเพื่อระบุตัวตนได้ด้วย ถามว่าต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชันหรือไม่ ไม่ต้อง ตื่นมาวันพรุ่งนี้จะมีช่องให้ใส่เลขโทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน แทนที่จะต้องใช้เลขที่บัญชีอย่างเดียว จากทำธุรกรรมผ่านเลขที่บัญชีธนาคาร ก็เป็นผ่านหมายเลขประจำตัวอื่นๆ เช่น โทรศัพท์หรือเลขบัตรประจำประชาชน


ลดคอร์รัปชัน ตรวจสอบร่องรอยได้ เป็นส่วนตัว
นอกจากจะทำให้ต้นทุนของประเทศลดลง ไม่มีการบิดเบือน และเพิ่มการแข่งขันธนาคาร ให้ระบบมีประสิทธิภาพแล้ว อีกประเด็นหนึ่งคือระบบนี้จะแก้ไขปัญหาเรื่องคอร์รัปชัน เพราะถ้ามันหมดเงินสดไปเมื่อไร ใครแบกเงินสดมาที่ธนาคาร เราจะต้องถามแล้วว่าเงินนี้ได้แต่ใดมา เป็นเงินน่าสงสัยทันที ถ้าไม่มีคนใช้เงินสด มันไม่ควรจะแบกมาอีกแล้ว

“แล้วเงินที่อยู่ในระบบจะทิ้งร่องรอยเสมอ ไม่ใช่ว่ารัฐบาลจะไปก้าวก่ายเรื่องส่วนบุคคล มันต้องบันทึกไว้ก่อนกรณีที่เกิดปัญหาขึ้นมาจะต้องตรวจสอบได้ ถ้าไม่มีมันจะตรวจสอบไม่ได้เลย ดังนั้น รายการทุกอย่างของธนาคาร ธปท. ก็ตรวจ คือทุกอย่างต้องมีร่องรอย มี Audit Trail พิสูจน์ได้ว่ามันมาอย่างไร แล้วจริงๆ กฎหมายมีอยู่แล้วของสำนักงานป้องกันและปรามปราบการฟอกเงิน (ปปง.) เงินที่เคลื่อนไหวถูกรายงานอยู่แล้ว มีไว้เพื่ออะไร ไม่ใช่กลั่นแกล้ง แต่ไว้แก้ปัญหาในประเทศ เงินค้ายา เงินก่อการร้าย พวกหลอกให้โอนเงิน ถ้าไม่มีพวกนี้เราจะตามจับอย่างไร จะปราบอย่างไร ตรงนี้ ปปง. ก็จะมีวิธีตรวจสอบว่าอันไหนน่าสงสัย จะอายัดหรือไม่”

“ต้องขอร้องเลย ผมว่าประเทศไทยผ่านทศวรรษของความขัดแย้ง เราไม่ไว้วางใจกัน ดังนั้น สิ่งที่ดีๆ ที่พยายามจะทำ คนจะมองในแง่ลบก่อน แบบนี้ของดีมันจะไม่เกิด ขอให้คิดดู ทุกทางออกไม่ใช่ไม่มีปัญหา แต่ไม่ใช่มองว่ามีปัญหาในทุกทางออก มันต้องหาทางออกในทุกปัญหา ไม่เช่นนั้นทุกทางออกมีกับดักรออยู่หมดสิ”



ที่มา  : Thaipublica
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 10, 2016, 07:25:19 am โดย nongnai » บันทึกการเข้า

ความรู้อยู่กับตัวกลัวอะไร
ritcha66
สามัญ
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เข้ามาล่าสุด:มกราคม 02, 2020, 03:54:17 pm
กระทู้: 14

ระบบปฏิบัติการ::
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
บราวเซอร์::
Chrome 78.0.3904.108 Chrome 78.0.3904.108


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2019, 03:25:24 pm »

เป็นบล็อกที่อ่านแล้วน่าสนใจมากค่ะ>>slotxo
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.20 | SMF © 2006-2009, Simple Machines

Valid XHTML 1.0! Valid CSS! Dilber MC Theme by HarzeM
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.289 วินาที กับ 25 คำสั่ง