กระบวนการตรวจสุขภาพคนทำงาน จะเริ่มตั้งแต่การที่แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ เก็บข้อมูลด้านสุขภาพของคนทำงาน ทั้งข้อมูลส่วนตัว เช่น อายุ เพศ โรคประจำตัว โรคในครอบครัว ประวัติการแพ้ยาและอาหาร มาประมวลร่วมกับข้อมูลความเสี่ยงจากการทำงาน ว่าคนทำงานนั้นมีการได้รับสัมผัสสิ่งคุกคามต่อสุขภาพอะไรบ้างจากการทำงาน โดยข้อมูลอาจได้จากการสอบถามคนทำงานโดยตรง หรือข้อมูลจากองค์กรที่ทำงานอยู่ หรือจากการเดินสำรวจสถานที่ทำงาน
เมื่อรวบรวมข้อมูลได้แล้ว แพทย์อาชีวเวชศาสตร์จะนำข้อมูลทั้งหมดมาประเมินความเสี่ยง เพื่อออกแบบเป็นโปรแกรมการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมกับคนทำงานแต่ละคน จากนั้นทำการตรวจสุขภาพตามโปรแกรมที่ออกแบบไว้ โดยการตรวจร่างกาย ส่งตรวจเลือดและปัสสาวะตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจภาพรังสี และตรวจด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ชนิดต่างๆ นำผลที่ได้มาประเมินและแจ้งให้กับผู้เข้ารับการตรวจทราบ หากแพทย์พบปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าการเจ็บป่วยเป็นโรคหรือความเสื่อมต่างๆ ก็จะได้ดำเนินการรักษาอย่างทันท่วงทีต่อไป หากพบความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยในอนาคต ก็จะให้คำแนะนำในการป้องกันแก้ไข ให้คำแนะนำในการส่งเสริมสุขภาพแบบต่างๆ รวมถึงการให้ยาหรือฉีดวัคซีนป้องกันโรค ตามแต่ปัญหาที่พบในคนทำงานแต่ละคนด้วย
การตรวจสุขภาพคนทำงานต้องทำอย่างไรบ้าง? ดูเพิ่มเติมที่นี่ https://intereconomiaconferencias.com/