หลวงปู่แย้มวัดตะเคียนมรณภาพแล้วปิดตำนานเสือปืนแตก
4มิ.ย.2557 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พระครูปิยนนทคุณ หรือหลวงปู่แย้ม หลวงปู่แย้ม ปิยวัณโณ เจ้าอาวาสวัดตะเคียน ถนนนครอินทร์ (พระราม 5) ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ได้มรณภาพเมื่อเวลา 09.20น.ของวันที่ 4 มิ.ย.2557 ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ สิริอายุ
98 ปี
หลวงปู่แย้มชื่อและสกุลเดิมคือ "แย้ม ปราณี" เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2
459 ตรงกับวันพฤหัสบดีขึ้น ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง ที่ ต.เจ็ดริ้ว อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร บิดาชื่อ "เพิ่ม" มารดาชื่อ "เจิม" อายุครบ 20 ปี อุปสมบทตามประเพณี และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้มารดาที่ล่วงลับไปแล้ว ที่วัดหลักสองบำรุงราษฎร์ มีพระครูคณาสุนทรนุรักษ์ เจ้าคณะอำเภอบ้านแพ้ว เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการเหลือ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ชื่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ปิยวณฺโณ"
พรรษาที่ 2 หลวงพ่ออาพาธหนัก ต้องกลับไปรักษาตัวที่บ้านด้วยยาต้มแผนโบราณ หายดีแล้วจึงกลับไปอยู่วัดตามเดิม ต่อมาท่านจึงศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณจนแตกฉาน รักษาชาวบ้านจนมีชื่อเสียงโด่งดัง ประมาณพรรษาที่ 10 หลังจากเรียนคาถามาจากหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง จ.สมุทรสาคร ท่านบอกว่าใช้เวลาเรียนไม่นาน เนื่องจากวิชาที่เรียนมีมาก จึงเลือกเรียนเพียงบางวิชาเท่านั้น ถ้าเรียนทุกอย่างคงไม่ไหว เพราะวิชามีเยอะแยะ ท่านจึงเลือกเรียนวิชาทำตะกรุด เพราะเอาไว้ป้องกัน และรักษาตัวจากภยันตราย
หลวงปู่แย้มถือเป็นเจ้าตำนานตะกรุดคอหมา อันโด่งดังพระเกจิเมืองนนท์ ด้วยเหตุที่ท่านเป็นคนที่มีเมตตาต่อสรรพสัตว์อย่างสูง สัตว์ที่ท่านรักมากก็คือสุนัขเหตุสืบเนื่องครั้งเมื่อท่านได้ทำตะกรุด ผูกคอให้กับหมาภายในวัดทุกตัว เพื่อป้องกันภัยให้หมาที่มันดุและถูกรังแก จริงๆ แล้วเขาเรียก ตะกรุดผูกคอหมา แต่แล้วคนก็มาแย่งหมาไปบูชากันเองจนหมดสิ้น ตะกรุดที่ท่านได้สร้างเพื่อแจกเริ่มแรกเป็นตะกรุดโทน แจกลูกศิษย์ลูกหา แจกญาติโยมในโอกาสสำคัญ คราวใดที่ท่านขึ้นเทศน์แสดงธรรม ญาติโยมที่ติดกัณฑ์เทศน์ถวายอันดับต้นๆ ก็จะได้รับตะกรุดทองคำ ตะกรุดเงินไปตามลำดับ
ส่วนเหตุของการสร้างตะกรุดหนังเสือหลายปีที่ท่านไม่ได้ทำตะกรุด แต่ก็มีลูกศิษย์ลูกหามาสอบถามต้องการมีตะกรุดของท่านไว้บูชาเป็นจำนวนมาก ท่านจึงทำเป็นตะกรุดหนังเสือซึ่งเป็นหนังเสือโคร่งที่มีลูกศิษย์ที่มีฐานะ นำมาถวาย หลวงปู่บอกว่าตะกรุดหนังเสือคงจะถูกทำเลียนแบบไม่ง่ายเหมือนตะกรุดแผ่นโลหะ ซึ่งคลี่ดูยันต์ข้างในไม่ได้ หลวงปู่ยังบอกอีกว่าเสือเป็นสัตว์ที่มีตะบะ มีบารมีถ้านำมาทำเป็นเครื่องรางของขลัง ของนั้นจะเด่นไปในทางมหาอำนาจ และอยู่ยงคงกระพันดี
เอกลักษณ์ของวัตถุมงคลของหลวงปู่แย้มทุกชนิด คือ ท่านลงยันต์มหาเบาเป็นยันต์ครูซึ่งท่านเรียนมาจากหลวงพ่อสายวัดหนองสองห้อง ผู้สืบวิทยาคมสาย หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าอีกรูปหนึ่ง โดยท่านจะจารตะกรุดทุกวันพฤหัสบดี เสร็จแล้วท่านก็จะม้วนตะกรุดพร้อมคาถากำกับทุกดอก แล้วประจุเสกจนของขึ้นมีพลังท่านบอกว่าต้องอย่างนี้สิถึงจะใช้ได้เอาไปลองได้เลย ปืนก็ปืน มีดก็มีดรับรองไม่ได้กินเนื้อกินเลือดเราแน่
ท่านว่าตะกรุดหนังเสือก็มีเมตตาอยู่มากไม่ใช่มีแค่ทางมหาอำนาจอย่างเดียว ท่านยังล้อเล่นเสมอว่าไปถามเด็กซิว่า ไปเขาดินอยากไปดูอะไร ส่วนใหญ่เด็กก็จะตอบว่าจะไปดูเสือ เห็นไม่ว่าเสือมันดุขนาดไหน ใครก็อยากเห็นเสือ นี่แหละเสือมันมีเมตตามหานิยม ใครก็อยากเห็น จัดว่าเป็นวัตถุมงคลล้ำค่าที่หาได้ยากยิ่ง ตะกรุดหนังเสือ ก่อนที่หลวงปู่จะมอบให้หลวงปู่ยังกำชับว่า ใครจะยิงให้มันยิงไปเถอะ เดี๋ยวปืนมันก็แตก เอ้า เพี้ยง ทำให้ผู้รับขนลุกซู่ไปทั้งตัว
เมื่อได้พูดถึงตะกรุดคอหมาแล้ว ว่าคงกระพัน หรือแคล้วคลาดอย่างไร ก็ทำให้ต้องพูดถึงวัตถุมงคลอีกอย่างที่เข้มขลังไม่แพ้กัน นั่นคือ เสือปืนแตก เล่ากันว่า มีนายตำรวจ ในเขตอำเภอบางกรวย ได้ทราบข่าวว่าหลวงปู่แย้ม สร้างเสือเนื้อตะกั่วขึ้นมาเพื่อหาปัจจัยสร้างวัด และมีคนเล่าให้ฟังถึงความขลังของวัตถุมงคลของหลวงปู่ จึงอยากลองของ ใด้มาขอยืมจากลูกศิษย์ที่อยู่ใกล้วัด เพื่อนำไปลอง ปรากฏว่ายิงนัดแรกไม่ออก นัดที่สองไม่ออก ยิงอีกครั้งเป็นครั้งที่สาม ปืนแตกใส่มือได้รับบาดเจ็บ เป็นแผลเป็นมาจนทุกวันนี้
นอกจากนี้แล้วเมื่อสมัยหลวงพ่อสดเดินทางจากสุพรรณบุรี และมาจำพรรษาแรกที่วัดโบสถ์บน (ติดกับวัดตะเคียน )ก่อนจะย้ายไปครองวัดปากน้ำภาษีเจริญ ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ได้รับถ่ายทอดสุดยอดเมตตาวิชาการทำผงพุทธคุณ วิชาการลบผงอิทธิเจ เมื่อท่านสำเร็จวิชาการทำผงพุทธคุณแล้วก็ได้นำผงพุทธคุณที่ท่านได้สร้างแล้วเก็บรวบรวม ต่อมาท่านก็ได้พระเครื่องขึ้น เป็นพระสมเด็จรุ่นแรก พระขุนแผนไข่ผ่าซีก พระนางพญาเนื้อดิน พระพิมพ์เล็บมือเข่าตุ่มเนื้อผงใบลานและเนื้อผงอิทธิเจ
อย่างไรก็ตามตั้งแต่อดีตหลวงปู่ได้พยายามรวบรวมปัจจัย เพื่อนำมาสร้างเสนาสนะ บูรณะวัดอยู่อย่างสม่ำเสมอมิได้ขาด แม้นหลวงปู่จะชราภาพลงมากแล้ว แต่ยังมีภาระซ่อมสร้างเสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมอีกหลายอย่าง อุโบสถ หอระฆัง ยกศาลาการเปรียญ โดยมอบหมายให้ท่านพระครูสมุห์สงบ กิตฺติญาโณ หรือหลวงพี่สงบ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสเป็นผู้สนองงานดำเนินการในการซ่อมสร้างเพื่อให้สำเร็จลุล่วงไป
สิ้นหลวงพ่อสม สุชีโว เกจิดังแห่งลุ่มแม่น้ำน้อยผู้สื่อข่าวรับแจ้งว่าพระครูโสภณสิริธรรม สุชีโว หรือหลวงพ่อสม เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทอง ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอโพธิ์ทอง เกจิดังในจังหวัดอ่างทอง ได้มรณภาพลงอย่างสงบ หลังจากรับแจ้งจึงเดินทางไปยังวัดโพธิ์ทอง หมู่ที่ 9 ตำบล คำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง พบว่าบรรดาพระสงฆ์ที่ทราบข่าวต่างทยอยเดินทางมาเคารพศพ นอกจากนั้นบรรดาลูกศิษย์และประชาชนที่ทราบข่าวต่างเดินทางมากราบไหว้และช่วยกันจัดเตรียมสถานที่เพื่อจัดงานศพ
หลวงพ่อสมเป็นพระนักพัฒนาองค์หนึ่งของจังหวัดอ่าทอง และเป็นพระผู้ที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมายประชาชนเลื่อมใสศรัทธามากมาย โดยก่อนที่จะมรณภาพนั้นได้ป่วยเป็นโรคชราและได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลอ่างทองเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 57 จนกระทั่งย้ายไปที่โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ที จ.สุพรรณบุรี ในวันที่ 17 เม.ย. 57 แต่อาการยังไม่ดีทางญาติๆจึงส่งเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์รังษิตในวันที่ 19 เม.ย. 57 จนกระทั่งเมื่อเวลา 02.00 น.ของวันนี้ที่ 10 มิ.ย. 57 หลวงพ่อสมได้มรณภาพลงอย่างสงบโดยมีอายุได้
85 ปี 64 พรรษา
สำหรับวัดโพธิ์ทองนั้น เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ปัจจุบันมี "หลวงพ่อสม สุชีโว" หรือ "พระครูโสภณสิริธรรม" เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทองเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อีกทั้งยังเป็นแพทย์แผนโบราณ เป็นพระนักการศึกษา พระนักปกครอง และพระนักพัฒนา พร้อมกันไป ชื่อเสียงของหลวงพ่อสมจึงได้ขจรขจายไปทั้งเมืองอ่างทอง เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านโดยทั่วไป