ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าวัตถุประสงค์การใช้งาน
โรงเรือนเพาะปลูกก็เพื่อช่วยดูแลผลผลิตพืชผักต่าง ๆ ให้ออกมาในทิศทางที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุณหภูมิที่หากเหมาะกับชนิดพันธุ์ก็จะได้ผลผลิตยอดเยี่ยม กระนั้นสิ่งสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ก็คือรูปแบบหลังคาที่มีให้เลือกใช้งานต่างกันออกไป แต่จะมีแบบไหน ช่วยเรื่องอะไรได้บ้าง เอาเป็นว่าเราไปติดตามพร้อม ๆ กันทางนี้เลยดีกว่า
3 รูปแบบหลังคาที่นิยมใช้กับโรงเรือนเพาะปลูก1. โรงเรือนแบบหลังคาโค้ง
มากันที่โรงเรือนชนิดแรกกับรูปแบบหลังคาโค้ง ซึ่งสามารถประกอบได้เองไม่ใช่เรื่องยาก แนะนำหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเพื่อให้แสงแดดได้ส่องเข้ามาภายในอย่างทั่วถึง พืชพรรณได้รับความอิ่มเอมตรงนี้ไปเต็มที่ หลังคาแบบโค้งจะอาศัยลมในการพัดผ่านพาความร้อนไหลเวียนภายใน แต่ก็ต้องระวังเรื่องความร้อนที่ลอยตัวขึ้นด้านบนแล้วจะไหลออกจากหลังคาได้ยาก
2. โรงเรือนแบบหลังคาจั่ว
ไม่ว่าจะสร้างเป็น
โรงเรือนปลูกผัก ปลูกพืช หรือปลูกต้นไม้ ก็มักจะนิยมใช้หลังคาจั่วอยู่เหมือนกัน ซึ่งหลังคาจำพวกนี้จะระบายอากาศได้อย่างดี นิยมเปิดส่วนหน้าจั่วให้โล่งยกสูง เพื่อระบายความร้อนภายในที่อยู่ด้านบนออกได้สะดวกมากขึ้น และยังมีโรงเรือนหลังคาจั่ว 2 ชั้น หรืออยู่แบบต่างระดับด้วย เพื่อกระจายการระบายความร้อนออกจากภายใน แม้จะมีฝนตกสาดก็ไม่สามารถเข้ามาถึงได้
ทั้งนี้ หากท่านใดต้องการโรงเรือนแบบที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก โปร่ง ก็ทำแบบไม่มีผนังได้เช่นกัน หรือหลังคาแบบมุงวัสดุโปร่งแสงก็ได้ แต่หากต้องการปลูกผัก พืชที่ต้องการความชื้นสูง แนะนำก่อผนังอิฐแล้วฉาบปูนขึ้นมาครึ่งหนึ่งเพื่อป้องกันลม และรักษาความชื้นภายใน ไม่ทำให้ใบฉีกขาดง่าย
3. โรงเรือนหลังคาฟันเลื่อย
จบท้ายกันที่โรงเรือนแบบหลังคาฟันเลื่อย หรือทรง ก. ไก่ ที่ด้านบนของหลังคาจะเปิดเป็นช่องกว้างอากาศถูกระบายออกได้ดี หรือเรียกว่าช่องระบายลมแบบรอยหยัก จะเป็นความร้อนในระดับไหนก็ตามหมดห่วง โปร่ง โล่งสบาย จัดเป็น
โรงเรือนปลูกต้นไม้ พืชผักที่น่าสนใจ แต่เรื่องของราคาก็จะสูงมากกว่าโรงเรือนชนิดหลังคาโค้ง
อย่างไรก็ดี ยังมีโรงเรือนเพาะปลูกในลักษณะของตาข่ายไนลอนอยู่ด้วย ซึ่งช่วยเพาะปลูกพืชผัก รวมถึงเพาะต้นกล้าของต้นไม้นานาชนิดได้อย่างดี วัตถุประสงค์หลักจะเน้นที่การป้องกันแมลง เหมาะกับท่านที่ไม่ต้องการใช้ยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เราสามารถดัดแปลงด้วยโครงสร้างที่แข็งแรงอย่างท่อ PVC, ไม้ไผ่, หลังคามุงพลาสติกพอลิเอทิลีนไม่ทำให้ฝนตกสาดเข้าก็ได้ แต่ทั้งนี้ควรยึดตาข่ายให้แน่นและตึงทุกด้าน จับทิศทางลมให้ดี ไม่ควรตั้งขวางทางลมเด็ดขาด มิเช่นนั้นจะพังชำรุด เสียหายได้
เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่
Website :
https://www.homepro.co.th/c/OUT0209