ชมรมเจ้ามือหวย
 
*
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน พฤศจิกายน 24, 2024, 06:56:48 pm


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น


ผลสลากกินแบ่งรัฐบาลงวด 16 กรกฎาคม 2565 รางวัลที่ 1 620405 รางวัล3ตัวหน้า 159 834 รางวัล3 ตัวท้าย 279 061 รางวัลเลขท้าย 2ตัว 53




เว็บโปรแกรมเจ้ามือหวย



ทำงานแบบมีหลักการ ไม่กล้าจนเกินตัว ไม่กลัวจนเกินเหตุ
ปณิธานของชมรมเจ้ามือหวย
ทางชมรมเจ้ามือหวย หวังแค่เพียงเพื่อนๆ อยู่กันแบบเป็นพี่เป็นน้อง จริงใจ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
ร่วมมือกันในการแบ่งปันข้อมูล มีอะไรดีๆ ก็นำเสนอแก่เพื่อนสมาชิก เพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน
หรือระวังป้องกันให้ชาวชมรมได้อยู่ในวงการตลอดไปนานเท่านาน
ขอบคุณจากใจจริง
nongnai


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อมูลโรคคางทูม (Mumps/Epidemic parotitis)  (อ่าน 26 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
siritidaphonTopic starter
Sr. Member
****
ออนไลน์ ออนไลน์

เข้ามาล่าสุด:วันนี้ เวลา 06:36:11 pm
กระทู้: 439

ระบบปฏิบัติการ::
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
บราวเซอร์::
Firefox 131.0 Firefox 131.0


« เมื่อ: ตุลาคม 02, 2024, 11:43:12 pm »

ข้อมูลโรคคางทูม (Mumps/Epidemic parotitis)

คางทูม เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำลาย โดยมากมักจะเป็นที่ต่อมน้ำลายข้างหู (parotid glands) พบมากในเด็กอายุ 6-10 ปี มักไม่พบในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และผู้ใหญ่อายุมากกว่า 40 ปี มีอุบัติการณ์สูงในเดือนมกราคมถึงเมษายน และกรกฎาคมถึงกันยายน อาจพบการระบาดได้เป็นครั้งคราว

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อคางทูม ซึ่งเป็นไวรัสในกลุ่ม paramyxovirus เชื้อจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด หรือโดยการสัมผัสถูกมือ สิ่งของเครื่องใช้ (เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ จาน ชาม เป็นต้น) หรือสิ่งแวดล้อมที่แปดเปื้อนเชื้อแบบเดียวกับไข้หวัด เชื้อเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและปาก แล้วแบ่งตัวในเซลล์เยื่อบุของทางเดินหายใจส่วนต้น หลังจากนั้นเชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือด แพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะต่อมน้ำลายข้างหู

ระยะฟักตัว 2-4 สัปดาห์ (เฉลี่ย 16-18 วัน)

ตำแหน่งของต่อมน้ำลาย
 

อาการ

ที่สำคัญ คือ ขากรรไกรบวม 1-2 ข้าง โดยแรกเริ่มผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร บางรายอาจเจ็บคอภายใน 24 ชั่วโมง (บางรายอาจหลายวัน) ต่อมาจะมีอาการปวดที่ข้างแก้มใกล้ใบหูหรือปวดหู ซึ่งจะเป็นมากขึ้นเวลาพูด เคี้ยว หรือกลืน หรือเวลากินอาหารรสเปรี้ยว เช่น น้ำส้ม มะนาว ต่อมาจะเกิดอาการบวมที่ขากรรไกรบริเวณใต้หูและข้างหู (ทั้งด้านหน้าและหลังหู) ทำให้ใบหูถูกดันขึ้นข้างบน ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดมากขึ้น จนบางครั้งพูด เคี้ยว หรือกลืนลำบาก อาการบวมและปวดจะเป็นมากสุดภายใน 1-3 วัน แล้วค่อย ๆ ลดลง และส่วนใหญ่จะหายไปภายใน 4-8 วัน บางรายอาจนานถึง 10 วัน ส่วนอาการไข้ส่วนใหญ่จะเป็นอยู่ 3-4 วัน บางรายอาจเป็นอยู่ประมาณ 1-6 วัน

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีขากรรไกรบวมข้างเดียวก่อน ต่อมาอีก 1-2 วัน (บางรายหลายวัน) จึงบวมอีกข้าง ประมาณร้อยละ 25 ของผู้ป่วยจะมีอาการบวมเพียงข้างเดียว

บางรายอาจมีการอักเสบของต่อมน้ำลายใต้คาง (submandibular glands) และใต้ลิ้น (sublingual glands) ร่วมด้วย ทำให้มีอาการบวมที่ใต้คาง

บางรายอาจมีขากรรไกรบวมโดยไม่มีอาการอื่น ๆ นำมาก่อน หรืออาจมีเพียงอาการไข้โดยขากรรไกรไม่บวมก็ได้

ประมาณร้อยละ 30 ของผู้ที่ติดเชื้อคางทูมจะไม่แสดงอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้


ภาวะแทรกซ้อน

ส่วนมากจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ส่วนน้อยที่อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย ซึ่งเป็นอาการแสดงของการติดเชื้อคางทูมของเนื้อเยื่อส่วนอื่น ซึ่งอาจแสดงอาการก่อน ขณะ หรือหลังขากรรไกรบวม หรืออาจเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการขากรรไกรบวมก็ได้

ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย ได้แก่ อัณฑะอักเสบ (orchitis) พบได้ประมาณร้อยละ 30-38 จะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น อัณฑะปวดและบวม (จะปวดมากใน 1-2 วันแรก) มักพบหลังเป็นคางทูม 7-10 วัน แต่อาจพบก่อนหรือพร้อม ๆ กับคางทูมก็ได้ ส่วนใหญ่เป็นเพียงข้างเดียวและน้อยรายที่จะกลายเป็นหมัน มักพบหลังวัยแตกเนื้อหนุ่ม ส่วนใหญ่พบในช่วงอายุ 30-40 ปี ในเด็กอาจพบได้บ้าง แต่น้อยกว่าในผู้ใหญ่มาก

อาจพบรังไข่อักเสบ (oophoritis) ซึ่งจะมีอาการไข้และปวดท้องน้อย มักพบในวัยแตกเนื้อสาว ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เป็นหมันได้

อาจทำให้แท้งบุตรในกรณีติดเชื้อคางทูมในระยะไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

อาจพบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยที่สุด มักมีอาการเพียงเล็กน้อยและหายได้เอง ส่วนสมองอักเสบอาจพบได้บ้างแต่น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไม่รุนแรง ส่วนน้อยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมอง หรือร้ายแรงถึงตาย

นอกจากนี้ ยังอาจพบตับอ่อนอักเสบ ประสาทหูอักเสบ (อาจทำให้หูตึงหรือสูญเสียการได้ยินชั่วคราวหรือถาวรได้) ไตอักเสบ ต่อมไทรอยด์อักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ข้ออักเสบ ตับอักเสบ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ แต่ล้วนเป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกายเป็นหลัก

มักตรวจพบไข้ 38-40 องศาเซลเซียส (บางรายอาจไม่มีไข้) บริเวณขากรรไกรบวมข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง กดเจ็บ

รูเปิดของท่อน้ำลายในกระพุ้งแก้ม (บริเวณตรงกับฟันกรามบนซี่ที่ 2) อาจมีอาการบวมแดงเล็กน้อย

อาจพบอาการลิ้นบวม (ในรายที่มีต่อมน้ำลายใต้ลิ้นอักเสบ) หรือหน้าอกตรงส่วนใต้คอบวม (ในรายที่มีต่อมน้ำลายใต้คางบวม)

ในรายที่จำเป็นต้องวินิจฉัยโรคคางทูมให้แน่ชัด แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือด (ทำการทดสอบทางน้ำเหลือง) เพื่อหาระดับสารภูมิต้านทานต่อเชื้อคางทูม การตรวจหาเชื้อคางทูมจากน้ำลาย น้ำไขสันหลัง หรือปัสสาวะ

การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้การดูแลรักษาดังนี้

1. ถ้าพบผู้ป่วยมีอาการขากรรไกรบวม มีประวัติ (เช่น การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นคางทูม) และอาการ (มีไข้ ปวดขากรรไกรมาก่อน) เข้าได้กับโรคคางทูม โดยไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ก็ให้การรักษาตามอาการโดยไม่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ แนะนำให้ผู้ป่วยนอนพัก ดื่มน้ำมาก ๆ เช็ดตัวเวลามีไข้สูง หลีกเลี่ยงอาหารรสเปรี้ยว ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบ ถ้าปวดมากใช้กระเป๋าน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบ

ในช่วงที่ขากรรไกรบวมหรือปวดมาก หรืออ้าปากลำบาก แนะนำให้ผู้ป่วยกินอาหารอ่อนหรือที่เคี้ยวง่าย

ถ้าไข้ไม่สูงหรือไม่มีไข้ ไม่ต้องให้ยา ถ้าไข้สูงให้พาราเซตามอล ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี ควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรย์ซินโดรม

2. ถ้ามีอัณฑะอักเสบ ให้ประคบด้วยน้ำแข็ง ให้ยาลดไข้แก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ส่วนใหญ่มักหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์

ในรายที่อักเสบรุนแรงหรือให้ยาลดไข้แก้ปวดแล้วไม่ทุเลา แพทย์อาจพิจารณาให้ยาสเตียรอยด์ลดการอักเสบ เช่น ให้เพร็ดนิโซโลน

3. ถ้ามีอาการปวดท้องรุนแรง ปวดศีรษะมาก อาเจียนมาก คอแข็ง ชัก หรือซึมไม่ค่อยรู้สึกตัว แพทย์จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล ทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม และให้การรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ

ผลการรักษา ส่วนใหญ่ให้การรักษาตามอาการ มักจะหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ ส่วนน้อยที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมา

การดูแลตนเอง

ถ้ามั่นใจ หรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นคางทูม ควรดูแลตนเอง ดังนี้

1. ปฏิบัติตัว ดังนี้

    พักผ่อนมาก ๆ ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง ดื่มน้ำมาก ๆ หลีกเลี่ยงอาหารรสเปรี้ยว
    กินอาหารตามปกติหรืออาหารอ่อน (เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก)
    ใช้น้ำอุ่นประคบบริเวณที่เป็นคางทูม
    ถ้ามีไข้สูง หรือปวด กินยาลดไข้แก้ปวด - พาราเซตามอล* (ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี ควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรย์ซินโดรม)  (ดู โรคเรย์ซินโดรม)

2. ควรปรึกษาแพทย์ ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    มีอาการชัก ไม่ค่อยรู้สึกตัว ปวดศีรษะมาก อัณฑะปวดและบวม ปวดท้องนานเป็นชั่วโมง ๆ เจ็บหน้าอกมาก หรือตาเหลืองตัวเหลือง
    มีอาการเหงือกอักเสบ
    มีประวัติการแพ้ยา สตรีที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร หรือมีโรคตับ โรคไต หรือประจำตัวอื่น ๆ ที่มีการใช้ยา หรือแพทย์นัดติดตามการรักษาอยู่เป็นประจำ
    หลังกินยา มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
    อาการไม่ดีขึ้นใน 1 สัปดาห์
    มีความวิตกกังวล หรือไม่มั่นใจที่จะดูแลตนเอง

*เพื่อความปลอดภัย ควรขอคำแนะนำวิธีและขนาดยาที่ใช้ ผลข้างเคียงของยา และข้อควรระวังในการใช้ยา จากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะการใช้ยาในเด็ก สตรีที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวหรือมีการใช้ยาบางชนิดที่แพทย์สั่งใช้อยู่เป็นประจำ

การป้องกัน

1. การฉีดวัคซีนป้องกัน แนะนำให้ฉีดวัคซีนรวมป้องกันหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) แก่เด็กทุกคน โดยฉีดเข็มแรกเมื่ออายุ 9-12 เดือน และฉีดซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุ 4-6 ปี

2. ในช่วงที่มีการระบาดหรือมีคนใกล้ชิดป่วยเป็นโรคนี้ แนะนำให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับไข้หวัด

ข้อแนะนำ

1. โรคนี้เกิดจากไวรัส ถือเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง ซึ่งมักจะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยไม่ต้องฉีดยาหรือให้ยาจำเพาะแต่อย่างใด การที่ชาวบ้านในสมัยก่อนหรือบางคนนิยมเขียน “เสือ” ด้วยตัวหนังสือจีนที่แก้มทั้ง 2 ข้าง หรือใช้ปูนแดงหรือครามป้ายแล้วหายได้นั้นก็เพราะเหตุนี้

2. ควรแยกผู้ป่วยออกต่างหาก อย่าให้คลุกคลีกับคนอื่น จนกว่าจะพ้นระยะติดต่อ (ระยะติดต่อตั้งแต่ 4 วันก่อนมีอาการจนกระทั่ง 9 วัน หลังมีอาการ)

3. ควรเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ หากสงสัยควรส่งไปตรวจที่โรงพยาบาล

4. เมื่อเป็นแล้วมักจะไม่เป็นซ้ำอีก

5. อาการคางบวม อาจมีสาเหตุจากโรคอื่น ๆ ได้ ควรซักถามอาการและตรวจร่างกายให้ถี่ถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจดูภายในปากและลำคอ (ตรวจอาการ คางบวม/คอบวม ประกอบ) และถ้าให้การดูแลรักษาตามอาการ 1 สัปดาห์แล้วไม่ทุเลา ก็ควรค้นหาสาเหตุอื่นต่อไป เช่น เมลิออยโดซิส ต่อมน้ำลายอักเสบ*

6. ถ้าอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 หรือมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยโรคนี้ หากมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ (เช่น ไข้ เจ็บคอ เสียงแหบ น้ำมูกไหล ไอ ท้องเดิน หายใจเหนื่อยหอบ) หรือทำการตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจแอนติเจน (ATK) ด้วยตนเองให้ผลเป็นบวก ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

* ต่อมน้ำลายอักเสบ (parotitis) มักมีลักษณะเป็นก้อนนุ่ม ๆ ที่มุมขากรรไกร หรือใต้คางอย่างเรื้อรัง อาจมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย อาจเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุชักนำชัดเจนก็ได้ บางรายอาจพบว่ามีภาวะอุดกั้นของท่อน้ำลายจากก้อนนิ่ว  เนื้องอก  หรือท่อน้ำลายตีบ  หากพบควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจหาสาเหตุและให้การรักษาที่ถูกต้อง

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.20 | SMF © 2006-2009, Simple Machines

Valid XHTML 1.0! Valid CSS! Dilber MC Theme by HarzeM
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.103 วินาที กับ 22 คำสั่ง